Tips
ความรู้พื้นฐานเรื่องระบบไฟฟ้า
ระบบการจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟในปัจจุบันของการไฟฟ้าฯ มีอยู่ 2 ระบบ คือ
1. ระบบแรงดันไฟฟ้าแบบ 1 เฟส 2 สาย ( Single phase )ระบบแรงดันไฟฟ้าแบบ 1 เฟส 2 สาย ( Single phase )
คือ การจ่ายแรงดันไฟฟ้าขนาดพิกัด 220 -240 โวลท์ ระบบนี้เหมาะสำหรับบ้านพักอาศัยที่ต้องการใช้กระแสไฟจำนวน
ไม่มาก(แต่ไม่เกิน 100 แอมป์) ระบบนี้มีการติดตั้งสายไฟสำหรับการใช้งานเพียง 2 เส้น คือ สายเส้นที่มีกระแสไฟ
(สาย Line หรือ " L “)และสายเส้นที่ไม่มีกระแสไฟ หรือสายศูนย์ ( สาย Nuetron หรือ " N“ )
2.ระบบแรงดันไฟฟ้าแบบ 3 เฟส 4 สาย ( Three phase ) คือ การจ่ายแรงดันไฟฟ้าขนาดพิกัด 380 - 400 โวลท์ ระบบนี้
เหมาะสำหรับบ้านพักอาศัยขนาดใหญ่ หรือพวกโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้กระแสไฟจำนวนมากตั้งแต่100 แอมป์
ขึ้นไป และมีเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องต่อการสายไฟใช้งาน 4 เส้น ระบบนี้มีการติดตั้งสายไฟสำหรับใช้งาน 4 เส้น(ในขนาดที่เท่ากัน)โดยมีสายไฟที่มีกระแสไฟ 3 เส้น คือ สาย Line 1, สาย Line 2 และ สาย Line 3 สายเส้นที่ 4 เป็นสายเส้นที่ไม่มีกระแสไฟ หรือสายศูนย์(สาย Neutron " N “)
รูปภาพการต่อสายไฟไปใช้งานทั้ง 2 รูปแบบ จะเห็นได้ว่าในระบบ 3 เฟส 4 สายนั้นเราสามารถต่อไฟใช้งานให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ทั้ง 2 ประเภท คือทั้งประเภทที่ต้องการใช้แรงดันไฟฟ้าขนาด 380 โวลท์ และ 220 โวลท์ได้ในเวลาเดียวกัน(ตามรูปภาพที่สอง)แต่ในระบบ 1 เฟส 2 สายนั้น เราต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าใช้งานได้เพียงขนาดแรงดันไฟฟ้า 220 โวลท์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
เมื่อเราได้ทราบถึงพื้นฐานของระบบแรงดันไฟฟ้าเพื่อการต่อใช้งานไปพอสังเขปแล้ว คราวนี้เราก็มารู้จักขั้นตอนการติดตั้งระบบไฟฟ้าใช้งานภายในบ้านพักอาศัยกันบ้าง (จะขอกล่าวถึงเฉพาะระบบ 1 เฟส 2 สายที่แรงดันไฟฟ้า 220 โวลท์เท่านั้น)
สมมติว่าเรากำลังคิดจะปลูกบ้านขึ้นมา สิ่งที่เราควรคำนึงถึงเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าที่จะติดตั้งภายในบ้านของเราตามความสำคัญลำดับก่อนหลังมีดังนี้
1. ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่จะขอใช้ไฟ
2. ลักษณะ และรูปแบบของการติดตั้งสายไฟ
3. จำนวนวงจรย่อยของอุปกรณ์ไฟฟ้า
4. แผงรวมไฟ หรือ ตู้รวมไฟ และเมนสวิทช์ตัดตอน
5. อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย และอุปกรณ์เสริมความปลอดภัย (หลักดิน, สายดิน และเครื่องตัดกระแสไฟรั่ว)
ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่ขอใช้ไฟ ส่วนใหญ่จะพิจารณาจากพื้นที่ใช้ส้อยของตัวบ้าน และจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กิน
กระแสไฟมากๆ ที่จะติดตั้งภายในบ้าน เช่น เครื่องปรับอากาศ, เครื่องทำน้ำอุ่น, เครื่องทำน้ำร้อน, ตู้แช่หรือตู้เย็นขนาดใหญ่ เป็นต้นรวมไปถึงจำนวนจุดติดตั้งดวงโคมไฟแสงสว่างขนาดต่างๆ และเต้ารับไฟฟ้าที่ใช้งาน ซึ่งเราต้องรู้ว่าหากเราใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้นพร้อมกัน มันจะกินกระแสไฟเป็นปริมาณเท่าใด เราก็ไปติดต่อขอใช้มิเตอร์ไฟฟ้า
ที่การไฟฟ้าฯ เช่น
ถ้าใช้กระแสไฟรวมกันไม่เกิน 10 แอมป์ ก็ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 5 (15) แอมป์
ถ้าใช้กระแสไฟรวมกันมากกว่า 10 แอมป์ แต่ไม่เกิน 50 แอมป์ ก็ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 15 (45) แอมป์
ถ้าใช้กระแสไฟรวมกันมากกว่า 50 แอมป์ แต่ไม่เกิน 100 แอมป์ ก็ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 30 (100) แอมป์