Tips
รีเลย์ตั้งเวลา (Timer Relays)
รีเลย์ตั้งเวลาเป็นอุปกรณ์ทำงานโดยอาศัยหลักการทำงานหน่วงเวลาด้วยระบบ อิเล็กทรอนิกส์ การใช้รีเลย์ตั้งเวลาในการควบคุมการผลิตมีความจำเป็นมาก เพื่อที่ให้ระบบการทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุด ก่อนที่จะไปสู่ระบบการผลิตต่อไป โดยภายในจะประกอบด้วยไมโครโปรเซสเซอร์ควบคุมการทำงานการตั้งเวลา โดยการปรับที่สวิตซ์หมุนด้านหน้าของรีเลย์ และมีสวิตซ์เลือกย่านการทำงาน
หลักการทำงาน
เมื่อจ่ายไฟเข้ารีเลย์ตั้งเวลา ไฟเปิด(ON) จะติดแสดงว่าแผงอิเล็กทรอนิกส์กำลังทำงานควบคุม เมื่อกำหนดเวลาที่ตั้งไว้เรียบร้อย สัญญาณไฟ(UP) จะติด แสดงว่ารีเลย์ตั้งเวลาได้เริ่มทำงาน โดยเมื่อถึงเวลาที่กำหนด หน้าสัมผัสที่ปิดจะเปิด หน้าสัมผัสที่เปิดก็จะปิด และเมื่อหยุดจ่ายไฟจะกลับสู่สภาพเดิมและเราจึงสามารถทำการตั้งเวลาใหม่ได้ อีกครั้ง
ส่วนประกอบของรีเลย์ตั้งเวลา
โครงสร้างภายนอกที่สำคัญ
1. ตารางเทียบตั้งเวลา
2. ปุ่มตั้งเวลา
3. ฐานเสียบตัวตั้งเวลา
4. สัญลักษณ์และรายละเอียดการต่อใช้งาน
5. ขาเสียบเข้าฐาน
โครงสร้างภายในของตัวตั้งเวลา
1. หม้อแปลง แปลงแรงดันเข้าชุดควบคุมอิเล็คทรอนิกส์
2. ชุดแผงควบคุมอิเล็คทรอนิกส์ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญคือไอซี
3. รีเลย์ทำหน้าที่ตัดต่อหน้าสัมผัสตามเวลาที่กำหนด
4. ฐานเชื่อมสายรีเลย์กับขาเสียบตั้วตั้งเวลา
ที่มา: http://webserv.kmitl.ac.th/s1010958/web/php/Subject.php