Tips
การวัดความต้านทานดิน
ระบบกราวนด์หรือระบบดินเปรียบประหนึ่งดั่งแหล่งที่ใช้สำหรับทิ้งขยะทางไฟฟ้า เช่น สัญญาณรบกวน (Noise) ตลอดถึงกำลังไฟฟ้าเกินชั่วขณะที่ไม่พึงประสงค์
ศักยภาพในการทำงานของระบบดิน ก็จะขึ้นอยู่กับค่าความต้านทานหรือค่าอิมพิแดนซ์ของระบบดินเอง ยิ่งระบบดินมีค่าความต้านทานหรือค่าอิมพิแดนซ์สูงเท่าไหร่
ย่อมส่งผลร้ายต่อระบบงานโดยตรง ซึ่งสามารถพิจารณาอย่างง่ายๆ โดยอาศัยกฎของโอห์ม นั่นก็คือ ระบบดินมีค่า ความต้านทานหรือค่าอิมพิแดนซ์อยู่ค่าหนึ่ง
จึงส่งผลให้เกิดศักย์ ไฟฟ้าปรากฏที่ระบบดินในช่วงเวลานั้น
การวัดค่าความต้านทานของระบบกราวนด์ ถือเป็นกระบวนการหนึ่งในการติดตั้งระบบกราวนด์ ค่าความต้านทานของระบบกราวนด์ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
และจะเกิดความมั่นใจได้อย่างไรว่า ค่าความต้านทานของระบบกราวนด์ที่วัดมีความถูกต้องหรือไม่ “เครื่องวัดกราวนด์ไม่โกหกเรา แต่เราใช้อย่างถูกต้องหรือไม่”
หลักการทำงานของเครื่องมือวัดค่าความต้านทานดิน สามารถอธิบายได้ว่า เครื่องมือวัดค่าความต้านทานดิน จะจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านทางหลักทดสอบ C1 (สายยาวสุด)
ลงสู่ระบบดิน กระ-แสไฟฟ้าที่ถูกจ่ายออกมานี้ ก็จะไหลกลับมาครบวงจรที่หลักทดสอบร่วม (G) หรือเป็นจุดที่ต้องการวัดค่าความต้านทานดินนั้นเอง เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน
ระบบดิน แน่นอนที่สุดว่า ย่อมจะต้องเกิดแรงดันไฟฟ้าค่าหนึ่งปรากฏตกคร่อมอยู่ที่ระบบดิน ณ ขณะนั้น ซึ่งค่าแรงดันที่ปรากฏก็จะถูกดำเนินการตรวจวัดโดยเครื่องมือวัดแรงดันไฟฟ้า (Voltmeter) ที่อยู่ภายในเครื่องวัดค่าความต้านทานดิน
โครงสร้างของเครื่องมือวัดความต้านทานดิน โครงสร้างของเครื่องมือวัดค่าความต้านทานของระบบดินจะประกอบด้วยแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า เครื่องวัดกระแสไฟฟ้า(Ammeter) เครื่องวัดแรงดันไฟฟ้า (Voltmeter) สำหรับ R ก็คือ ค่าความต้านทานของจุดที่ต้องการตรวจวัด