Tips
หลอดไฟ
หลอดไฟชนิดไส้
ส่วนประกอบของหลอดไฟฟ้า
หลอดไฟฟ้าแบบธรรมดาหรือหลอดไฟฟ้าชนิดไส้ มีส่วนประกอบทั่วๆไปดังนั้
- 1. หลอดแก้ว
- 2. ไส้หลอดทำด้วยโลหะทังสเตน
- 3. เส้นหลอดต่อเข้ากับไส้หลอด
- 4. ลอดยึดไส้หลอด
- 5. ก้านลวดยึดไส้หลอด
- 6. ขั้นหลอด
หลักการทำงานของไส้หลอดไฟฟ้า
เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไส้หลอดที่ทำด้วยทังสเตนที่มีความต้านทานสูง ไส้หลอดจะไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน
แต่ด้วยแรงดันไฟฟ้าที่สูงของกระแสไฟฟ้าจึงดันให้อิเลคตรอนผ่านไส้หลอด การที่ไส้หลอดมีขนาดเล็กมากประกอบกับ
มีความต้านทางสูง เมื่ออิเลคตรอนอิสระเคลื่อนที่ผ่านจึงทำให้เกิดความร้อนสูงมากจนไส้หลอดเปล่งแสงออกมา
ปัจจุบันไม่นิยมใช้หลอดไฟฟ้าชนิดไส้ เนื่องจากหลอดไฟฟ้าชนิดนี้มีความร้อนสูงและสิ้น เปลืองกำลังไฟฟ้ามาก
หลอดตะเกียบ
หลักการทำงานของหลอดประหยัดพลังงาน ( หลอดตะเกียบ)
หลอดไฟฟ้าประหยัดพลังงานโดยทั่วไปใช้กับความ ต่างศักย์ ขนาด 230 โวลต์ เมื่อกดสวิตช์เพื่อเปิดไฟ ความต่างศักย์
ที่สตาร์ตเตอร์ (Starter) จุดติดอยู่ระหว่าง 250 โวลต์- 450 โวลต์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวจ่ายกระแสไฟฟ้า (Glow discharge) เมื่อกระแสไฟไหลผ่านวงจรผ่าน ขั้วบวกและขั้วลบที่มีแท่งโลหะ (Bimetal) ต่อเชื่อมอยู่ เมื่อกระแสไฟไหลผ่านขั้วทั้งสองแล้ว จะเกิดการไหลของกระแสไฟภายใต้ความต่างศักย์ที่สูงขึ้น ส่งผลให้ขดลวดที่ทำมาจากโลหะทังสเตนปล่อยอิเลคตรอนวิ่งไปชนกับอะตอมของก๊าซในหลอดไฟ (Impact ionization) ทำให้อะตอมของก๊าซเกิดปฎิกิริยาไอออนไนเซชัน ( เกิดเป็นอนุภาคของก๊าซที่มีขั้ว) เมื่ออนุภาคที่มีขั้วดังกล่าววิ่งไปชนกับสารเรืองแสง (Luminescent substance) ก็จะเกิดเป็นสเปคตรัมหรือแสง ที่เรามองเห็นนั่นเอง
หลอดฟลูอเรสเซนต์ หรือ หลอดนีออน
หลอดไฟฟ้าชนิดนี้ มีลักษณะแตกต่างไปจากหลอดไฟฟ้าธรรมชาติชนิดไส้ กล่าวคือ ตัวหลอดทำด้วยแก้ว บางใสกลมยาวรูปทรงกระบอกหรือรูปวงกลม ภายในหลอดแก้วจะสูบอากาศออกเกือบหมด และบรรจุก๊าซอาร์กอนและปรอทไว้เล็กน้อย ที่ผิวด้านในของหลอดฉาบไว้ด้วยสารเคมีบางชนิดที่เปล่งแสงได้ เมื่อได้รับรังสีอัลตร้าไวโอเลต สารเคมีที่มีสมบัติดังกล่าวนี้เรียกว่า สารเรืองแสง ที่เหลือไส้หลอดแต่ละข้างจะมีขั้วโลหะอาบน้ำยาเพื่อให้กระจายอิเลคตรอนได้ง่าย เมื่อได้รับความร้อนจากไส้หลอดขั้วโลหะเป็นขั้วไฟฟ้าที่เรียกว่า อิเลคโทรด (Electrode) ซึ่งขั้วไฟฟ้าจะทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อต่อกระแสไฟฟ้าจากวงจรภายนอกเข้าสู่ตัวหลอด
การใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ไม่สามารถต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าในบ้านได้โดยตรงเหมือนกับหลอดไฟฟ้าธรรมดา เพราะจะทำให้หลอดไส้ขาดทันทีที่กระแสไฟฟ้าผ่าน ดังนั้นจึงต้องใช้ต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่นอีก ได้แก่ สตาร์ตเตอร์ และบัลลัสต์
หลอดไอปรอท หรือ หลอดแสงจันทร์
การทำงานของหลอดประเภทนี้ จะทำงานด้วยหลักการปล่อยประจุความเข้มสูง มีอายุการใช้งานประมาณ 24000 ชม มีค่าความถูกต้องของสีค่อนข้างต่ำ แสงจะออกนวลมีปริมาณแสงสว่างต่อวัตต์สูงกว่าหลอดชนิดอื่นๆ แสงส่องสว่างได้ไกลเหมาะกับงานสนามและภายนอกอาคาร เมื่อเปิดหลอดประเภทนี้ จะต้องใช้เวลาสักพักหนึ่งก่อน จะทำงานได้เต็มที่ และเมื่อปิดแล้วก็ต้องรออีกราวสิบนาทีก่อนจะเปิดใช้งานได้อีก ปัจจุบันหลอดไอปรอท ไม่นิยมใช้งานแล้ว เนื่องจากดูแลรักษายาก และปรอท ก็ยังเป็นพิษต่อคนและสิ่งแวดล้อม
หลอดเมทัลฮาไลน์
ลักษณะการกำเนิดแสงสว่าง คล้ายกับหลอดแสงจันทร์ แต่ภายในบรรจุอิเล็กตรอนที่ทำด้วยทังสเตนล้วนๆ ภายในกระเปาะผสมฮาไลน์ชนิดต่างๆ ทำให้ได้ ปริมาณแสงมากขึ้นกว่าหลอดแสงจันทร์ เกือบเท่าตัว ได้แสงสีสมดุลขึ้น จนดูใกล้เคียงแสงแดด อายุการใช้งานประมาณ 24000 ชม ใช้กับงานที่ต้องการความถูกต้องสีมาก เช่น งานพิมพ์สี สนามกีฬาเฉพาะที่มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ สวนสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า
หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์
มีหลักการทำงานเหมือนหลอดฟลูออเรสเซนต์ มีทั้งแบบที่มีบัลลาสต์ในตัว มีขั้วเป็นแบบเกลียว สวมใส่เข้ากับเต้าเกลียวของหลอดไส้ได้เลย และแบบที่มีขั้วเป็นขาเสียบ ใช้ร่วมกับโคม และมีบัลลาสต์ภายนอก โดยผลิตออกมาหลายค่าพลังงาน สีของแสง มี warm white, cool white และ day light เช่นเดียวกับหลอดฟลูออเรสเซนต์ รูปร่างก็หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นหลอดคู่ หลอดสี่แถว หลอดยาว หลอดเกลียว หลอดมีโคมครอบ มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์
หลอด LED
หลอด LED ถือว่าเป็นทางเลือกของอนาคตได้เลยทีเดียว ด้วยคุณสมบัติการทำงานที่ไม่มีการเผาไส้หลอด จึงไม่เกิดความร้อน แสงสว่างเกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอภายในสารกึ่ง พลังงานเปลี่ยนเป็นแสงสว่างได้เต็มที่ มีแสงหลายสีให้เลือกใช้งาน ขนาดที่เล็กทำให้ยืดหยุ่นในการออกแบบ การจัดเรียง นำไปใช้ด้านตกแต่งได้ดี มีความทนทาน ไม่ต้องห่วงเรื่องไส้หลอดขาด หรือหลอดแตก ด้านอายุการใช้งานก็อยู่ได้ถึง 50,000-60,000 ชั่วโมง ทั้งยังปรับหรี่แสงได้ง่ายกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ และที่สำคัญ ปราศจากปรอท และสารกลุ่มฮาโลเจนที่เป็นพิษ แต่มีข้อเสีย คือในปัจจุบันหลอด LED มีราคาสูงกว่าหลอดธรรมดาทั่วไปและมีความสว่างไม่มากนัก
มาประหยัดไฟกันเถอะ
หลังจากที่เราทราบถึงประเภทของหลอดไฟที่ใช้อยู่ในปัจจุปัน แต่การเลือกใช้งานนั้น เราต้องคำนึงถึงการประหยัดพลังงานเพื่อให้เข้ากับภาวะโลกร้อนที่กำลังลุมเล้าโลกของเราอยู่ทุกวันนี้ และด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในปัจจุบัน จึงได้มีการผลิต หลอดประหยัดไฟ ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากใช้กระแสไฟฟ้าน้อยกว่า แต่ให้ความสว่างมากกว่าหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา หลอดประหยัดไฟที่นิยมใช้ในปัจจุบันนั้นมี 2 ประเภท คือ
หลอดประหยัดไฟ แบบ หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์
- หลอด SL แบบขั้วเกลียว มีบัลลาสต์ในตัว มีขนาด 9, 13, 18, 25 วัตต์ ประหยัดไฟร้อยละ 75 เมื่อเทียบกับหลอดไส้ เหมาะกับสถานที่ที่เปิดไฟนานๆ หรือบริเวณที่เปลี่ยนหลอดยาก เช่น โคมไฟหัวเสา ทางเดิน เป็นต้น
- หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ 4 แท่ง ขั้วเกลียว (หลอดPL*E/C) ขนาด 9,11,15 และ 20 วัตต์ มีบัลลาสต์อีเล็กทรอนิกส์ในตัว เปิดติดทันที ไม่กระพริบ ประหยัดไฟได้ร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับหลอดไส้
- หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ตัวยู 3 ขด (หลอด PL*E/T) ขนาดกะทัดรัด 20 และ 23 วัตต์ ขจัดปัญหาหลอดยาวเกินโคมประหยัดไฟได้ร้อยละ 80 ของหลอดไส้
- หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ขั้วเสียบ (หลอด PLS) บัลลาสต์ภายนอกขนาด 7, 9 และ 11 วัตต์ ประหยัดไฟร้อยละ 80 ของหลอดไส้
- หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ 4 แท่ง ขั้วเสียบ (หลอด PLC) บัลลาสต์ภายนอก ขนาด 8, 10, 13, 18 และ 26 วัตต์ ประหยัดไฟร้อยละ 80 ของหลอดไส้
หลอด T5 คือหลอดที่ประหยัดไฟมากที่สุดในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีล่าสุด หลอดที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางที่เล็กลง ใช้กำลังไฟเพียง 28 watt แต่ให้ความสว่างมากกว่าหลอดผอม T8 (มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 หุน) 36watt ในปัจจุบัน ในขณะที่กำลังไฟน้อยลง แต่ให้แสงสว่างที่มากกว่าเดิม ดังนั้น หลอด T5 จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่คุ้มค่าที่สุดในปัจจุบัน